ความเป็นมา

TEXTTILE SQUARE

"เป็นองค์กรที่ปฏิบัติกิจกรรมและบริการในหลากหลายมิติ เพื่อส่งเสริมทักษะและ ความรู้สหวิชาการเน้น นวัตกรรม (Innovation) การออกแบบ (Design) และการเชื่อมโยง (Connect) ให้วิสาหกิจโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งแฟชั่นและไลฟสไตล์

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เกิดขั้นจากการผลักดันของหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและ เอกชน โดยตระหนักถึงความจำเป็นของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย
ที่จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับ การเเข่งขันเสรี ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุคนั้น ภาคเอกชนโดยสมาคมสิ่งทอต่างๆ เล็งเห็นว่า ควรจัดตั้งหน่วยงานที่มีความคล่องตัวขึ้นมา
แม้ว่าในขณะนั้นจะมีกองอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในสังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหรรม กระทรวงอุตสาหกรรม อยู่แล้วก็ตาม แต่ด้วยการแข่งขันในวันข้างหน้า คือ หลังจากปี 2538 ข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอ
มีผลบังคับใช้จึงจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานใหม่ ที่มีความยืดหยุ่น มีระบบ การทำงานที่กระชับ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานราชการที่มีกฎระเบียบใน เรื่องงบประมาณและการดำเนินการ อีกทั้ง ยังมีข้อจำกัดใน
เรื่องบุคลากรที่มีการหมุนเวียนโยกย้ายอยู่เสมอซึ่งจะทำให้ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรม

ในที่สุดก็ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าหน่วยงานดังกล่าวจะต้อง เป็นสถาบันอิสระไม่อยู่ในระบบราชการ และ
มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่มาจากตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ร่วมกันกำหนด นโยบายโดยมี
ผู้อำนวยการสถาบันเป็นผู้บริการงานให้เป็นไปตามนโยบาย

จากนั้นได้มีการนำเสนอต่อรัฐบาลในขณะนั้นที่มีนาย บรรหาร ศิลปะอาชา ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
และนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งต่างก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะรัฐบาลเองก็คิดว่าอุตสาหกรรม สิ่งทอ
จะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้นั้น ภาคเอกชนต้องเข้ามามีบทบาทในการร่วมคิดร่วมวางแผนกับภาครัฐ
และมีบทบาทนำในการลงมือปฏิบัติจึงจะเกิดผลสมตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2539
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ตามมติ คณะรัฐมนตรี
โดยให้มีสถานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน มีภารกิจในการ
พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของให้มีความเข้มเเข็งสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก